นี่คือค่ายเพลงวัยรุ่นที่โด่งดังมาพร้อมการเริ่มต้นของกระแสโซเซียล
ครั้งหนึ่งที่นี่เคยเป็นเสมือนโรงเรียนที่ผลิตศิลปินไอดอลที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถแก่วงการเพลงบ้านเรา
โฟร์-มด, เฟย์-ฟาง-แก้ว, Neo Jump, K-OTIC, หวาย, ขนมจีน, 3.2.1 และอื่นๆ อีกมากมาย
ยอดมนุษย์..คนธรรมดา ร่วมกับ The Cloud พาทุกคนไปพูดคุยกับ 3 คนเบื้องหลัง เอฟู-ณรงค์ศักดิ์ ศรีบรรฎาศักดิ์วัชรากรณ์ อดีต Executive Producer, จิ๊บ-หทัย ศราวุฒิไพบูลย์ อดีต Vice President / Creative Director และ ก๊อป-ธานี วงศ์นิวัติขจร อดีต Lyric Producer
ย้อนเวลากลับไปเมื่อสิบปีก่อน ถึงเรื่องราวของ Kamikaze ค่ายเพลงที่เคยสร้างกระแส และกุมหัวใจวัยรุ่นไทยทั่วประเทศอย่างเหนียวแน่น
อ่าน เบื้องหลัง Kamikaze ค่ายเพลงวัยรุ่นที่สร้างซาวนด์แทร็กชีวิตวัยรุ่นยุค MSN ที่ https://readthecloud.co/kamikaze/
สำหรับแฟนๆ Kamikaze หากไม่เต็มอิ่ม เราได้รวบรวมเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ หรือรู้แล้วแต่อาจหลงลืม อยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง
1. เนื่องจากศิลปิน K-OTIC บางคน เช่นโทโมะหรือจองเบ ร้องเพลงภาษาไทยไม่ได้ เอฟู โปรดิวเซอร์ เลยใช้วิธีการให้พวกเขาแต่งเนื้อร้องกันเอง พร้อมวางโจทย์เรียบร้อยว่าต้องการสื่ออะไร แต่หลังเพลงเผยแพร่ออกไปก็มักมีคนมาฟ้องว่า เนื้อที่ร้องมีแต่โปรโมตตัวเอง เช่น ‘ผมโทโมะเป็นฮิพฮอพรุ่นใหญ่’
เอฟูบอกว่า “ไอ้พวกนี้มันกวนมากเลย เพลงเร็ว มันแต่งโปรโมตตัวเองอย่างเดียวเลย เพลงช้าถึงแต่งเข้าเนื้อหน่อย เลวมาก (หัวเราะ)”
2. ช่วงเวิร์กช็อปศิลปินรุ่นแรกๆ อาหารที่เด็กๆ จะได้กินเสมอคือ พิซซ่า 2 กล่อง และแน่นอนว่าคนที่จ่ายเงินก็คือ ชมพู บอสใหญ่นั่นเอง
“พี่พูจะซวยทุกวันอังคาร เพราะทุกคนจะบอกให้ไปเก็บเงินกับพี่พู พิซซ่ามาส่งแล้วครับ แล้วพี่พูก็ต้องออก” เอฟู-คนไม่มีเงินบอกมา
3. เดิมทีเพลง ‘เหงาปาก’ ถูกวางไว้ให้เป็นเพลงของพายุ แต่เผอิญพายุเลิกเสียก่อน เลยถูกโอนไปให้ K-OTIC ก๊อป Postcard ผู้แต่งจำได้ดีว่า ช่วงนั้นแต่งยังไงก็ไม่ถูกใจสักที จนต้องบอกเอฟูว่าขอเก็บไว้ก่อนแล้ว
หลังเก็บไว้ได้เดือนหนึ่งก็ลองมาฟังทำนองเล่นๆ แล้วจู่ๆ ก็ฮัมเพลงขึ้นมาเฉยๆ ‘สี่โมงแล้วเผาหลอก หกโมงก็เผาจริง’ จังหวะนั้น ก๊อปรู้ทันทีว่า “..คำมันลงนี่ จับแพทเทิร์นการร้องได้แล้ว แต่ความหมายเป็นไงไม่รู้ ก็เลยค่อยๆ ไปปรับมาเป็น ‘อย่างเธอไม่เหงาหรอก อย่าบอกเหงาเลย’ เฮ้ยโอเคแล้ว..”
4. ตั้งใจแต่งเพลงช้าแท้ๆ แต่ไม่รู้ทำเพลงกลายเป็นเพลงเร็วไปซะได้ สำหรับเพลง ‘ขึ้นอยู่ที่เธอ’ ของเฟย์-ฟาง-แก้ว หลังปล่อยเพลงออกมา แสตมป์ อภิวัชร์ คนแต่งถึงกลับบอกว่าทีมงานว่า “โห พี่ทำไงวะ”
5. จริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่เอฟูบอกว่า เบื้องหลังของ Kiss Me 5 ไม่มีอะไรมากไปกว่า อยากได้เกิล์ดกรุ๊ปตัวสูงๆ เพราะที่ผ่านมามีแต่เกิล์ดกรุ๊ปตัวเล็กๆ หมดเลย Kiss Me 5 ก็เลยมีแต่สาวๆ ที่สูงเกิน 170 เซนติเมตร
6. เหตุการณ์ที่จิ๊บจำไม่ลืม คือครั้งแรกที่ทำภาพให้ เฟย์-ฟาง-แก้ว เพราะทันทีที่กรรไกรโดนผมสาวเฟย์ สาวน้อยก็ถึงกลับปล่อยโฮออกมา “ตกใจมาก ไม่เคยเจอมาก่อน ตัดผมแล้วร้องไห้ แบบนี้ก็มีด้วยเหรอ”
7. ก่อนมาอยู่ Kamikaze พายุเคยเป็นสมาชิกของ G-Junior มาก่อน เพราะฉะนั้นเรื่องเต้นรับรองไม่เคยเป็นสองรองใคร แต่ที่ทีมงานหนักใจยิ่งกว่า คือเขาเต้นตลอดเวลา เอฟูเล่าว่า “พายุเป็นเด็กประหลาด หยุดนิ่งไม่ได้ จนเราต้องขอร้องหยุดเต้นได้ไหม พายุก็บอกได้ครับพี่ แล้วก็เต้นต่อ”
8. เพลงที่แต่งยากสุด สำหรับก๊อป คือ ‘ตามใจปาก’ ของขนมจีน เพราะแต่งยังไงก็แต่งไม่ออกเสียที “ไปเมืองจีน 7 วันไม่ได้เที่ยวเลย เครียดมากจนวันที่ต้องกลับจากเมืองจีน ต้องส่งงาน ต้องรีบเขียน พอเขียนแบบไม่คิดมาก กลายเป็นได้ คือขึ้นมั่วๆ เลย ‘เมื่อล็อกหัวใจมันพัง’ กลับไปคิดแบบเด็กๆ”
9. ภาพเด็กที่กำลังตีลังกา ในโลโก้ Kamikaze ยุคแรกนั้น แท้จริงเกิดจากทีมงานเห็นว่า เหล่าสมาชิก K-OTIC นั้นชอบเต้น ก็เลยให้มาแอ็กชั่นถ่ายภาพแล้วก็แปลงเป็นกราฟฟิกประกอบบนโลโก้ซะเลย
10. เพราะตั้งใจทำให้ Kamikaze เป็นหัวขบวน T-Pop ของประเทศ ช่วงหลังๆ ทีมโปรดิวเซอร์เลยต้องวงเล็บชื่อเพลงภาษาอังกฤษไว้ด้วย เผื่อวันหนึ่งชาวต่างชาติมาค้นเจอจะได้รู้ว่า เพลงนี้ต้องการสื่ออะไรกันแน่
ศิลปินล้านนา จรัล มโนเพ็ชร ชายผู้ทำให้ภาษาคำเมืองกลายเป็นภาษาที่ทั่วประเทศคุ้นเคย และสร้างบทเพลงที่อมตะ
พูดคุยกับอดีตโปรดิวเซอร์ของ Fat Radio ผู้อยู่เบื้องมหกรรมดนตรี Fat Festival
ชาวอเมริกันผู้หลงใหลในดนตรีไทย ผู้ก่อตั้งวงดนตรีฟองน้ำ และยังเป็นผู้ผลักดันให้ศิลปะไทยแขนงนี้ไปไกลสู่ระดับโลก
วงดนตรีร็อก ผู้จุดกระแสยามฟีเวอร์ และยังคงครองความนิยมมาตลอด 20 กว่าปี
เส้นทางของ Soul After Six วงดนตรีผู้บุกเบิกเพลงโซลของเมืองไทย ซึ่งยังคงหยัดยืนสร้างผลงานด้วยความเชื่อและมิตรภาพ
ขุนพลเพลงลูกทุ่ง เจ้าพ่อเพลงแหล่เมืองไทย ผู้ปั้นราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์
โลกดนตรี ตำนานรายการคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ที่ศิลปินยุค 1970-2000 อยากขึ้นแสดงมากที่สุด เพราะใครที่มีโอกาสได้ขึ้นเวทีนี้ แสดงว่าดังแล้ว
ห้องทดลองกฎหมายของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ทำงานเรื่องการพิสูจน์สิทธิเรื่องสัญชาติ เพื่อให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่อยากรักษาเสน่ห์ของพื้นที่อารีย์ พร้อมกับรักษาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการใช้กุศโลบายที่ดึงดูดให้คนทุกมีส่วนร่วม
นักออกแบบแดนปัตตานีที่รวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม เพื่อเปลี่ยนภาพจำๆ เดิมของชายแดนใต้ ไปสู่กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์
จากครูอาสาที่มาสอนดนตรีในชุมชนคลองเตย สู่การต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่ที่จะเติบโตอย่างงดงาม
แรงบันดาลใจของพระอีสานผู้ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ สู่การสร้างโอกาสทางการศึกษาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
COPYRIGHT © 2021 WWW.THENORMALHERO.CO. ALL RIGHTS RESERVED.