เมื่อ 20 กว่าปีก่อน นิสิตหนุ่มปี 2 จากรั้วเกษตรศาสตร์ผู้หนึ่งได้รับโอกาสสำคัญในชีวิต ให้เข้ามาเป็น 1 ใน 3 ผู้ปลุกปั้นเว็บบอร์ดแรกๆ ของเมืองไทย
หลายคนเรียกเขาว่าเป็น โปรแกรมเมอร์คนแรกของ Pantip
เขามีส่วนร่วมพัฒนาตั้งแต่เริ่มแรก ทั้งวางระบบ เขียนโค้ด จัดการคนที่เข้ามาป่วน รวมทั้งเป็นหัวหน้าทีมในการปรับโฉมเว็บไซต์แห่งนี้ และพัฒนาระบบแท็ก จนมียอดผู้เยี่ยมชมทะลุล้านคนต่อวัน
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Pantip ยังคงหยัดยืนเป็นเว็บไซต์สัญชาติไทย อันดับ 1 ท่ามกลางโซเซียลมีเดียต่างๆ ที่เข้ามาดึงความสนใจของผู้คนมากมาย
ยอดมนุษย์..คนธรรมดา ร่วมกับ The Cloud ขอพาทุกคนไปพูดคุยกับ อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ผลิตภัณฑ์ บริษัทอินเตอร์เน็ต มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ถึงวันวาน วันนี้ และวันหน้าของเว็บไซต์ในตำนานที่อยู่คู่ใจของไทยมานานแสนนาน
อ่าน 24 ปี เว็บไซต์คู่ใจคนไทย เรื่องเล่าจากโปรแกรมเมอร์คนแรก แห่ง Pantip ที่ https://readthecloud.co/pantip/
แต่ก่อนจะไปอ่านฉบับเต็ม เรามีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Pantip มาเล่าให้ฟัง
1. Pantip ปรากฏสู่สายตาผู้คนเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2539
2. Pantip ถือเป็นเว็บภาษาไทยยุคแรกๆ ของเมืองไทย เหตุผลเพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าสามารถใช้ตัวอักษรไทยในอินเทอร์เน็ตได้ กระทั่ง วันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้ง ทดลองทำเว็บไซต์ของตัวเองง่ายๆ ที่ GeoCities และพบว่า ไม่เห็นมีปัญหาเลย เขาจึงต่อยอดไปสู่แมกกาซีนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่ชื่อ Pantip
3. Pantip ใช้เงินลงทุน 200,000 บาท โดยหวังจะขายโฆษณาตามร้านอุปกรณ์ไอที ปรากฏว่า ขายไม่ได้เลยเพราะไม่มีใครรู้จักการตลาดออนไลน์ จนกระทั่งเมื่อ Pantip เปลี่ยนรูปแบบจากนิตยสารมาเป็นเว็บบอร์ด ก็เลยเริ่มมีชื่อเสียง และเริ่มมีคนสนใจ และตอนหลังวันฉัตรไปจับมือกับเครือเนชั่นเพื่อขายโฆษณา เว็บก็เลยยิ่งบูม
4. จุดเด่นที่สุดของ Pantip คือ Pantip Cafe ซึ่งแยกย่อยเป็นห้องสนทนาต่างๆ สมัยก่อน วิธีดู URL ง่ายๆ ก็คือตัวอักษรภาษาอังกฤษหน้าเลขกระทู้ A คือ เฉลิมไทย, C คือ โทรโข่ง, E คือ BluePlanet, F คือ สยามสแควร์, K คือ ห้องสมุด, L คือ ห้องสวนลุมพินี, M คือ ห้องไร้สังกัด, P คือ ห้องราชดำเนิน, S คือ ห้องศุภชลาศัย, T คือ ห้องรัชดา, X คือ หว้ากอ โดยอักษรแต่ละตัวจะสื่อความหมายของเนื้อหาในห้องนั้น เช่น P มาจาก Politics หรือ S มาจาก Sports
5. ช่วงกระแสด็อทคอมมาแรง ประเด็นที่ถูกพูดบ่อยสุดคือ Pantip จะขายหรือไม่ เพราะก่อนหน้านั้น Sanook ถูกขายไปแล้ว ซึ่งความจริงก็มีคนมาทาบทามเหมือนกัน แต่ผู้บริหาร Pantip บอกว่า “คุณทำเองเถอะ อันนี้เป็น Community ที่ช่วยกันสร้างมากับสมาชิก..ขายให้ต่างชาติ เขาก็ไม่มาแล้ว ไปคุยที่อื่นแทน คุณเองก็ไม่ได้อะไรไป”
6. ตลอด 20 กว่าปี จะมีกระทู้เกิดขึ้นใน Pantip ร่วมร้อยล้านกระทู้ แต่กระทู้ยุคดึกดำบรรพ์ที่อภิศิลป์ไม่เคยลืมเลย คือ ช่วงที่มาคนเข้ามาตั้งกระทู้ถามวิธีปรับจาน UBC ซึ่งพอคุยไปคุยมาก็กลายเป็นเรื่องอะไรไม่รู้ “ตอนนั้นมีคนมาตอบว่า คุณต้องหันจานให้ได้มุมอะซิมุท คราวนี้คนก็งงแล้วว่า มุมอะซิมุทคืออะไร จากนั้นคำตอบก็เริ่มออกทะเล แต่เป็นการออกทะเลที่เป็นวิทยาศาสตร์สูงมาก แล้วก็มีคนเข้ามาตอบเยอะแยะไปหมด สนุกมาก”
7. ครั้งหนึ่งอภิศิลป์เคยลาออกจาก Pantip เพื่อหาประสบการณ์ โดยเขาได้เปิดบล็อกเล็กๆ ของตัวเอง ชื่อ MacroArt เล่าเรื่องเทคโนโลยี การตลาด ท่องเที่ยว อาหาร
8. ด้วยความที่ Pantip ถูกตั้งขึ้นเพื่อ IT ทำให้เดิมทีเรื่องนี้ไม่ถูกจัดอยู่ในห้องใดเลย แต่มีบอร์ดของตัวเองชื่อ Technical Exchange จนกระทั่งมีการปรับโฉม Pantip ใหม่เมื่อปี 2556 จึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห้องสนทนา เรียกว่าห้อง ซิลิคอนวัลเลย์
9. ครั้งหนึ่งสมาชิก Pantip เคยรวมตัวกันทำหนังสือเฉพาะกิจ รวบรวมประวัติและเรื่องราวประทับใจที่มีต่อเว็บไซต์แห่งนี้ ชื่อ ‘ร้อยฝันพันทิป’ ส่วนอภิศิลป์ก็เคยทำแคมเปญ A Month of Friendship แล้วไปรวบรวมกระทู้ยุคโบราณใน Pantip มาให้เพื่อนสมาชิกอ่านกัน
10. ปัจจุบันคลังกระทู้เก่าใน Pantip ก็ยังมีให้อ่านอยู่ โดยจุดสังเกตง่ายๆ คือ URL จะขึ้นด้วย http://topicstock.pantip.com และถ้าอยากหากระทู้เก่าเก็บกว่านั้น ขอแนะนำให้ไปที่ — https://bit.ly/3vvh9oP
11. ใครอยากกระทู้ที่ 1,000,000 ของ pantip ณ ห้องไร้สังกัด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2544 มาที่นี่เลย — https://bit.ly/3gWz0Rg
Dek-D.com เว็บไซต์ยอดนิยมเด็กไทย ซึ่งเกิดจากไอเดียของเด็กมัธยม 4 คน และกลายเป็นทั้งที่พึ่ง ที่สร้างสรรค์ ที่ปล่อยของ และอื่นๆ อีกมากมาย
ประสบการณ์กว่า 20 ปีของ 1 ใน 3 ผู้บุกเบิก Pantip เว็บบอร์ดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
นักธุรกิจที่หลงใหลธรรมชาติ จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาระดับต้นๆ ของเมืองไทย และเป็นผู้บุกเบิกเว็บไซต์ Siamensis.org
ทีนทอล์ก ต้นแบบรายการโทรทัศน์สำหรับวัยรุ่น ที่ฉีกขนบเดิมๆ ของวงการทิ้งไป และเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงตัวตนอย่างเต็มที่
ย้อนอดีตรายการวิทยุในตำนาน แหล่งรวมตัวของรวมวัยรุ่นยุค 90 ที่หลายคนชอบโทรศัพท์เข้ามาให้โดนอำ
โลกดนตรี ตำนานรายการคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ที่ศิลปินยุค 1970-2000 อยากขึ้นแสดงมากที่สุด เพราะใครที่มีโอกาสได้ขึ้นเวทีนี้ แสดงว่าดังแล้ว
ห้องทดลองกฎหมายของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ทำงานเรื่องการพิสูจน์สิทธิเรื่องสัญชาติ เพื่อให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่อยากรักษาเสน่ห์ของพื้นที่อารีย์ พร้อมกับรักษาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการใช้กุศโลบายที่ดึงดูดให้คนทุกมีส่วนร่วม
นักออกแบบแดนปัตตานีที่รวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม เพื่อเปลี่ยนภาพจำๆ เดิมของชายแดนใต้ ไปสู่กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์
จากครูอาสาที่มาสอนดนตรีในชุมชนคลองเตย สู่การต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่ที่จะเติบโตอย่างงดงาม
แรงบันดาลใจของพระอีสานผู้ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ สู่การสร้างโอกาสทางการศึกษาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
COPYRIGHT © 2021 WWW.THENORMALHERO.CO. ALL RIGHTS RESERVED.