หากไม่มีชายที่ชื่อ สรรพสิริ วิรยศิริ บางทีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อาจเป็นเพียงแค่ภาพเลือนรางที่รับรู้กันเฉพาะคนไม่กี่คน
แต่ด้วยจิตวิญญาณของนักข่าวทีวีคนแรกของเมืองไทย ทำให้อดีตนายใหญ่แห่งช่อง 9 ตัดสินใจนำเรื่องนี้เสนอสู่หน้าจอ แม้รู้ดีว่าสิ่งที่ต้องเผชิญต่อจากนั้นคืออะไร
เพราะสิ่งที่สรรพสิริให้ความสำคัญ ไม่ใช่ชื่อเสียง เงินทอง หรือเกียรติยศ แต่คือการรักษาจุดยืนของการเป็นหมาเฝ้าบ้าน ดังประโยคที่เขามักนิยามตัวเอง
‘ผมเป็นคนข่าวคนหนึ่ง..ก็แค่นั้น’
ท่ามกลางกระแสที่สังคมตั้งคำถามถึงบทบาทของสื่อมวลชนไทย ยอดมนุษย์..คนธรรมดา อยากพาทุกท่านไปเรียนรู้ถึงชีวิตของตำนานคนข่าว ผู้บุกเบิกวงการโทรทัศน์ผู้นี้
ตลอดครึ่งศตวรรษบนเส้นทางนักสื่อสาร สรรพสิริทำอะไรมากมาย ตั้งแต่รายการวิทยุ สารคดี และภาพยนตร์โฆษณา
แต่ไม่มีงานใดที่เขาหลงรักและทุ่มเทได้เท่ากับ ‘ข่าว’
สรรพสิริคือหัวหน้าฝ่ายข่าวทีวีคนแรกของประเทศไทย
เชื่อหรือไม่ วันแรกที่เปิดช่อง 4 บางขุนพรหม พอได้ยินเสียงไซเรนรถดับเพลิงผ่าน เขาก็รีบคว้ากล้อง ขับรถตามจนถึงเมืองนนท์ จนได้ข่าวสดใหม่เสิร์ฟขึ้นจอตั้งแต่เริ่มต้น
แม้แต่ข่าวเล็กข่าวใหญ่ ฝนตกน้ำท่วม เครื่องบินตก โกงเลือกตั้ง เขาก็ทำหมด เพราะยึดหลักที่ว่าประชาชนต้องรู้ สังคมต้องได้ประโยชน์ ไม่แปลกเลยว่าทำไมผู้มีอำนาจจึงถึงไม่ค่อยชอบเขานัก
ในที่สุดความทุ่มเทเกินพิกัด ก็ทำให้ถูกย้ายจากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายข่าว ไปดูแลโรงรถของกรมประชาสัมพันธ์
“ผมทำงานอยู่ฝ่ายข่าวช่อง 4 ก็มีโทรศัพท์ดังขึ้น สั่งให้เอาเครื่องมือไปถ่ายหนังจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กล่าวปราศรัย ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็เสร็จ แต่ตอนจะเอามาออกข่าวทีวี มันไม่ง่าย แล้วกระแสไฟฟ้าก็มีปัญหามาก จู่ๆ ก็มีโทรศัพท์มาบอกว่าท่านอธิบดีเรียกให้ไปที่บ้าน ท่านกำลังเลี้ยงแสดงความยินดีที่ทำข่าวสำคัญสำเร็จเรียบร้อย แต่ผมจะไปได้ยังไง ข่าวสำคัญที่ท่านว่ามันยังไม่เสร็จ ให้คนอื่นไปแทนแล้วกัน พอใกล้เที่ยงคืน ก็คำสั่งให้ปลดผมออกจากทีวีแล้วตั้งแต่บัดนี้
“พอรุ่งขึ้นตอนเช้าอธิบดีหายเมา ก็สั่งคนสนิทมาบอกผมว่า ‘ให้ไปกราบขอโทษท่านซะ’ ถ้าเขาใช้คำว่าไปพบกับท่านเพื่อปรับความเข้าใจ ผมอาจไป แต่พอได้ยินแบบนั้น ผมปฏิญาณกับตัวเองว่า หนึ่งผมจะไม่ยอมไปกราบมัน สองในชีวิตมันจะต้องชดใช้กรรมอันนี้ และสาม วันหนึ่งข้างหน้าผมจะพิสูจน์ให้ได้ว่าผมเป็นนักข่าวที่ยอดเยี่ยม”
หลังลาออกจากราชการ สรรพสิริเบนเข็มไปบุกเบิกงานโฆษณาจนร่ำรวย เพราะเขามักทำอะไรแปลกใหม่และฉีกกรอบเสมอ เช่นนำตัวการ์ตูนมาเดินเรื่องแทนคน จน ‘หนูหล่อ’ กับประโยค ‘เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไม่เตือน’ โด่งดังนานข้ามทศวรรษ
แต่ถึงจะไปไกลกับงานโฆษณา ในใจของสรรพสิริก็ยังมุ่งมั่นกับข่าวไม่เปลี่ยนแปลง
ในฐานะนักข่าวไร้สังกัด เขาเดินทางไปยังตะเข็บชายแดนทำข่าวการสู้ระบบของทหารไทยกับผู้ก่อร้ายอยู่เสมอ หลายข่าวถูกส่งต่อไปยังสำนักข่าวต่างประเทศ บางข่าวกลายเป็นรายการสารคดีของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ
และเมื่อกองทัพอากาศทำโครงการ Airport TV ทีวีวงจรปิดฉายในสนามบินดอนเมือง สรรพสิริก็รับบริหารสถานีให้ ซึ่งแทนที่จะทำรายการเกี่ยวกับเครื่องบินแบบคนทั่วไป เขากลับไปทำสารคดีสงครามเวียดนามแทน แถมทุกชั่วโมงยังมีข่าวคั่นเวลาอีกต่างหาก
“ผมต้องการเป็นตาทิพย์แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้โดยสารต่างชาติ อย่างอเมริกัน ซึ่งลูกหลานเขาอาจจะไปรบอยู่ที่นั่น เพราะอเมริกาส่งทหารไปรบที่เวียดนามเป็นจำนวนมาก ผมจึงตัดสินใจไปทำข่าวที่นี่
“แต่พอกลับมาได้ไม่นาน ก็ต้องเลิกทำรายการ เพราะผมเป็นโรคข่าวขึ้นสมอง ทำข่าวมากจนหาโฆษณาได้แค่เดือนละไม่กี่พัน แต่ค่าใช้จ่ายตกเดือนเป็นแสน สุดท้ายก็ต้องเลิกกิจการไป”
ต่อมาพอไทยทีวีสีช่อง 3 เปิด เขาก็ถูกดึงไปเป็นหัวหน้าฝ่ายข่าวคนแรก ทำข่าวเจาะมากมายเต็มไปหมด ก่อนจะได้เชิญให้กลับไปอยู่ช่อง 9 หรือช่อง 4 เดิมอีกครั้ง ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ พร้อมปรับรูปแบบการทำข่าวของทีวีและวิทยุ จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน ทั้งเรื่องคุณภาพ และความรวดเร็ว
“ผมยอมรับตำแหน่ง เพราะผมคิดว่า นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของผมแล้วที่ผมจะได้ล้างอายให้กับชีวิต เพราะผมถูกสั่งปลดจากที่นี่ โดยไม่มีความผิดอะไร ดังนั้นผมต้องกลับมาพิสูจน์ตัวเอง”
น่าเสียดายที่สรรพสิริทำงานได้เพียงปีกว่าก็ถูกพิษ 6 ตุุลาคม 2519 เล่นงานจนโดนปลดรอบสอง
แต่นั่นก็คงพอแล้วสำหรับการพิสูจน์จิตวิญญาณของชายผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อข่าว
ตลอดครึ่งศตวรรษบนเส้นทางนักสื่อสาร สรรพสิริทำอะไรมากมาย ตั้งแต่รายการวิทยุ สารคดี และภาพยนตร์โฆษณา
แต่ไม่มีงานใดที่เขาหลงรักและทุ่มเทได้เท่ากับ ‘ข่าว’
สรรพสิริคือหัวหน้าฝ่ายข่าวทีวีคนแรกของประเทศไทย
เชื่อหรือไม่ วันแรกที่เปิดช่อง 4 บางขุนพรหม พอได้ยินเสียงไซเรนรถดับเพลิงผ่าน เขาก็รีบคว้ากล้อง ขับรถตามจนถึงเมืองนนท์ จนได้ข่าวสดใหม่เสิร์ฟขึ้นจอตั้งแต่เริ่มต้น
แม้แต่ข่าวเล็กข่าวใหญ่ ฝนตกน้ำท่วม เครื่องบินตก โกงเลือกตั้ง เขาก็ทำหมด เพราะยึดหลักที่ว่าประชาชนต้องรู้ สังคมต้องได้ประโยชน์ ไม่แปลกเลยว่าทำไมผู้มีอำนาจจึงถึงไม่ค่อยชอบเขานัก
ในที่สุดความทุ่มเทเกินพิกัด ก็ทำให้ถูกย้ายจากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายข่าว ไปดูแลโรงรถของกรมประชาสัมพันธ์
“ผมทำงานอยู่ฝ่ายข่าวช่อง 4 ก็มีโทรศัพท์ดังขึ้น สั่งให้เอาเครื่องมือไปถ่ายหนังจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กล่าวปราศรัย ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็เสร็จ แต่ตอนจะเอามาออกข่าวทีวี มันไม่ง่าย แล้วกระแสไฟฟ้าก็มีปัญหามาก จู่ๆ ก็มีโทรศัพท์มาบอกว่าท่านอธิบดีเรียกให้ไปที่บ้าน ท่านกำลังเลี้ยงแสดงความยินดีที่ทำข่าวสำคัญสำเร็จเรียบร้อย แต่ผมจะไปได้ยังไง ข่าวสำคัญที่ท่านว่ามันยังไม่เสร็จ ให้คนอื่นไปแทนแล้วกัน พอใกล้เที่ยงคืน ก็คำสั่งให้ปลดผมออกจากทีวีแล้วตั้งแต่บัดนี้
“พอรุ่งขึ้นตอนเช้าอธิบดีหายเมา ก็สั่งคนสนิทมาบอกผมว่า ‘ให้ไปกราบขอโทษท่านซะ’ ถ้าเขาใช้คำว่าไปพบกับท่านเพื่อปรับความเข้าใจ ผมอาจไป แต่พอได้ยินแบบนั้น ผมปฏิญาณกับตัวเองว่า หนึ่งผมจะไม่ยอมไปกราบมัน สองในชีวิตมันจะต้องชดใช้กรรมอันนี้ และสาม วันหนึ่งข้างหน้าผมจะพิสูจน์ให้ได้ว่าผมเป็นนักข่าวที่ยอดเยี่ยม”
หลังลาออกจากราชการ สรรพสิริเบนเข็มไปบุกเบิกงานโฆษณาจนร่ำรวย เพราะเขามักทำอะไรแปลกใหม่และฉีกกรอบเสมอ เช่นนำตัวการ์ตูนมาเดินเรื่องแทนคน จน ‘หนูหล่อ’ กับประโยค ‘เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไม่เตือน’ โด่งดังนานข้ามทศวรรษ
แต่ถึงจะไปไกลกับงานโฆษณา ในใจของสรรพสิริก็ยังมุ่งมั่นกับข่าวไม่เปลี่ยนแปลง
ในฐานะนักข่าวไร้สังกัด เขาเดินทางไปยังตะเข็บชายแดนทำข่าวการสู้ระบบของทหารไทยกับผู้ก่อร้ายอยู่เสมอ หลายข่าวถูกส่งต่อไปยังสำนักข่าวต่างประเทศ บางข่าวกลายเป็นรายการสารคดีของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ
และเมื่อกองทัพอากาศทำโครงการ Airport TV ทีวีวงจรปิดฉายในสนามบินดอนเมือง สรรพสิริก็รับบริหารสถานีให้ ซึ่งแทนที่จะทำรายการเกี่ยวกับเครื่องบินแบบคนทั่วไป เขากลับไปทำสารคดีสงครามเวียดนามแทน แถมทุกชั่วโมงยังมีข่าวคั่นเวลาอีกต่างหาก
“ผมต้องการเป็นตาทิพย์แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้โดยสารต่างชาติ อย่างอเมริกัน ซึ่งลูกหลานเขาอาจจะไปรบอยู่ที่นั่น เพราะอเมริกาส่งทหารไปรบที่เวียดนามเป็นจำนวนมาก ผมจึงตัดสินใจไปทำข่าวที่นี่
“แต่พอกลับมาได้ไม่นาน ก็ต้องเลิกทำรายการ เพราะผมเป็นโรคข่าวขึ้นสมอง ทำข่าวมากจนหาโฆษณาได้แค่เดือนละไม่กี่พัน แต่ค่าใช้จ่ายตกเดือนเป็นแสน สุดท้ายก็ต้องเลิกกิจการไป”
ต่อมาพอไทยทีวีสีช่อง 3 เปิด เขาก็ถูกดึงไปเป็นหัวหน้าฝ่ายข่าวคนแรก ทำข่าวเจาะมากมายเต็มไปหมด ก่อนจะได้เชิญให้กลับไปอยู่ช่อง 9 หรือช่อง 4 เดิมอีกครั้ง ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ พร้อมปรับรูปแบบการทำข่าวของทีวีและวิทยุ จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน ทั้งเรื่องคุณภาพ และความรวดเร็ว
“ผมยอมรับตำแหน่ง เพราะผมคิดว่า นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของผมแล้วที่ผมจะได้ล้างอายให้กับชีวิต เพราะผมถูกสั่งปลดจากที่นี่ โดยไม่มีความผิดอะไร ดังนั้นผมต้องกลับมาพิสูจน์ตัวเอง”
น่าเสียดายที่สรรพสิริทำงานได้เพียงปีกว่าก็ถูกพิษ 6 ตุุลาคม 2519 เล่นงานจนโดนปลดรอบสอง
แต่นั่นก็คงพอแล้วสำหรับการพิสูจน์จิตวิญญาณของชายผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อข่าว
คงไม่ผิดหากบอกว่า ชีวิตของสรรพสิริไม่ต่างจากรถไฟเหาะที่ตีลังกาไปมา
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขาถูกตั้งกรรมการสอบว่าเป็นคอมมิวนิสต์ โดนกล่าวหาว่าฉ้อโกงบริษัททั้งที่ไม่มีมูล และยังตกเป็นจำเลยคดีหนี้ต้องกลายเป็นบุคคลล้มละลาย ขายทรัพย์สินที่มีอยู่ประทังชีวิต
“สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งเอาเรื่อง ให้รับผิดชอบหนี้สินของลูกน้องที่เคยเซ็นค้ำให้นานมากแล้ว แต่ผมไม่มีให้เพราะตอนถูกปลด ผมโดนอายัดบัญชีทุกธนาคาร เขาฟ้องศาลจึงสั่งให้ผมเป็นบุคคลล้มละลายทันที..
“พอรู้คำพิพากษา ผมก็ไปบวชอยู่ที่ระยอง อยากล้างซวยที่ถูกสังคมรังเกียจ ต่อมาก็ไปหลบทำไร่อยู่ที่โป่งน้ำร้อน จันทบุรี ติดชายแดนเขมร หลานเขยมีที่ดินอยู่ไม่อยากปล่อยไว้เฉยๆ เลยจ้างผมเดือนละพันกว่าบาทให้ไปดูแล”
สรรพสิริทำไร่อยู่ 7 ปีเต็ม หลานเขยก็หมดเงิน ขายไร่ทิ้ง เขาก็เลยซมซานกลับมากรุงเทพฯ
เขายอมรับชีวิตช่วงนั้นตีบตันไปหมด เคยคิดเอาปืนที่เหลืออยู่กระบอกเดียว ฆ่าตัวตายให้สิ้นเรื่อง
แต่ยังไม่ทันลงมือก็มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น จากคนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ปลายสายแนะนำตัวว่าชื่อ ‘จุมพล รอดคำดี‘ เป็นอาจารย์อยู่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ อยากชักชวนให้มาสอนวิชาทำข่าวโทรทัศน์ให้นิสิต
“ผมประหลาดใจมาก เพราะอยู่ดีๆ เขาก็เชิญให้ผมเป็นอาจารย์ จากนั้นชมรมช่างภาพข่าวโทรทัศน์ก็มามอบโล่ให้จารึกว่าผมเป็นบุคลที่อุทิศตนแก่งานข่าวโทรทัศน์อย่างยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน เพราะเหตุนี้ผมจึงไม่มีสิทธิตาย เขายังเห็นความดีของผมอยู่ มันทำให้มีกำลังใจขึ้นมา เขาไล่ผมออกไปแต่คนกลับให้เกียรติผม
“ตอนหลังผมพบอาจารย์จุมพลในการสัมมนาว่าด้วยเรื่องวิทยุและโทรทัศน์ ผมถามเขาว่า ทำไมถึงได้นึกถึงผม อาจารย์จุมพลตอบสั้นๆ ‘ผมเสียดายครับ’ การได้เป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ เหมือนเป็นการชุบชีวิต ทำให้ผมได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ หลังจากนั้นก็มีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ติดต่อมาหาผมบ้าง ซึ่งผมก็ไปหมดทุกที่”
ถ้าพูดถึงความสำเร็จกับผม ต้องไม่พูดถึงเรื่องเงินทอง เพราะไม่เคยประสบความสำเร็จเลยในชีวิต แต่ถ้าเป็นเกียรติยศ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรีของคนที่เกิดมาเป็นผู้ชายคนหนึ่ง ผมถือว่าประสบความสำเร็จมาก
ในบั้นปลายชีวิต สรรพสิริตัดสินใจหวนกลับมาสู่วงการสื่ออีกครั้ง เพื่อกู้ศักดิ์ศรีที่สูญหายไปคืนมา
“ถึงผมจะมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ผมจะไม่ยอมกลับไปดูถูกหรือจองเวรกับคนที่ทำกับผมเด็ดขาด ตรงกันข้ามเมื่อผมนึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ผมกลับอยากจะขุดคุ้ยความดีงามของคนอื่น ที่เขาอาจประสบเคราะห์กรรมอย่างผม หรือถูกลืมเพื่อนำออกมาประกาศให้ทุกคนได้รู้”
สรรพสิรินำเสนอเรื่องราวของบุคคลมากมาย อาทิ รัชกาลที่ 5 ในฐานะผู้บุกเบิกรถไฟไทย, พระองค์เจ้าพีระฯ นักแข่งรถซึ่งเคยนำธงชาติไทยไปอวดสายตาชาวโลก หรือ โผน กิ่งเพชร แชมป์มวยโลกชาวไทยคนแรก รวมถึงคนเล็กคนน้อยที่น่าสนใจ ผ่านนิตยสารต่างๆ
ด้วยความเชื่อว่า การเรียนรู้เรื่องดีๆ ของคนอื่น จะทำให้ผู้อ่านมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น รู้จักความรัก รู้จักความเสียสละ และหยุดทำร้ายซึ่งกันและกัน
“ถ้าพูดถึงความสำเร็จกับผม ต้องไม่พูดถึงเรื่องเงินทอง เพราะไม่เคยประสบความสำเร็จเลยในชีวิต แต่ถ้าเป็นเกียรติยศ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรีของคนที่เกิดมาเป็นผู้ชายคนหนึ่ง ผมถือว่าประสบความสำเร็จมาก ผมอาจจะได้ทำอะไรต่ออะไรคนแรกในวงการ อันนั้นไม่สำคัญ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างผมมีความบริสุทธิ์ใจที่จะทำให้สังคม
“ผมอยากเป็นคนที่มีประโยชน์กับคนอื่นๆ ไม่ใช่คิดว่าจะต้องเอาตัวรอดไปวันๆ ผมไม่เคยหมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องเป็นอะไรในชีวิต นอกจากอยากเป็นในสิ่งที่อยากเป็นสิ่งที่ชอบ และมีคุณค่ากับตัวเองและกับผู้อื่น”
และนี่คือเรื่องราวของสื่อมวลชนตัวจริงที่ชื่อ สรรพสิริ วิรยศิริ
ชายผู้ก่อตั้ง The Nation หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกของคนไทย กับความตั้งใจที่ทั้งบ้า และน่าทึ่งด้วยวิสัยทัศน์
บทบรรณาธิการแรกของหนังสือพิมพ์ The Nation ที่สะท้อนอุดมการณ์ และความทะเยอทะยานของสุทธิชัย หยุ่น ในวัย 26 ปี
นักข่าวโทรทัศน์คนแรกของเมืองไทย ผู้นำเสนอภาพเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 สู่สาธารณะจนกลายเป็นบุคคลล้มละลายอยู่นานหลายปี
สุดยอดนักข่าว ผู้เป็นต้นแบบของสื่อมวลชน จนนำชื่อไปใช้เป็นสถาบันของสมาคมนักข่าวฯ
นักข่าวคนสำคัญผู้ทำให้ข่าวกลายเป็นรายการสามัญประจำบ้าน
ย้อนเรื่องราวของนักสื่อมวลชน ผู้ยกระดับช่อง 9 จากแดนสนธยา สู่การเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อสังคมไทย
ครูแพทย์ผู้บุกเบิกประสาทศัลยศาสตร์ในเมืองไทย ตลอดจนมีส่วนในการยกเครื่องกระทรวงสาธารณสุข และผลักดันแพทย์ไทยไปสู่ชนบท
โค้ชอ๊อต อดีตหัวหน้าสต๊าฟโค้ชวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ผู้ที่ทำให้ทีมโนเนม กลายเป็นทีมระดับโลกที่มีผู้คนต่างยกนิ้วให้
ศิลปินแห่งชาติ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ผู้พยายามสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างแท้จริง
เจ้าของ a.e.y.space นักสร้างสรรค์เมืองรุ่นใหม่ จนสงขลา ที่เชื่อมร้อยศิลปะ เศรษฐกิจ สังคม และผู้คน เข้าไว้ด้วยกัน
อดีตอาจารย์สถาปัตย์ ผู้ปลูกฝังให้ลูกศิษย์รักต้นไม้ และเชื่อมโยงธรรมชาติกับงานสถาปัตยกรรม
เภสัชกรหญิง เจ้าของรางวัลแมกไซไซที่เดินทางไปทั่วแอฟริกา เพื่อสอนการผลิตยารักษาโรคให้ผู้ขาดแคลน
COPYRIGHT © 2021 WWW.THENORMALHERO.CO. ALL RIGHTS RESERVED.