หากวันหนึ่ง สืบ นาคะเสถียร ชวนคุณนั่งรถเข้าป่า คุณจินตนาการออกหรือเปล่าว่า บรรยากาศจะเป็นอย่างไร?
สนุกสนาน เต็มไปด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่านานาชนิด หรือเคร่งขรึม มีแต่เรื่องกฎหมายกับการอนุรักษ์ป่า
แต่คนที่เคยมีประสบการณ์ อย่าง โจ๋ย บางจาก แห่งรายการสารคดีส่องโลก เคยเขียนเล่าในหนังสือว่า
เข้าป่ากับสืบไม่ง่ายอย่างคิดเพราะเขามีกฎเกณฑ์มากมายที่คุณอาจคาดไม่ถึง!
ห้ามใช้แตร! ห้ามขับเร็วเกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง! ห้ามขับรถทับลงในแอ่งน้ำขัง! และห้าม…! (อื่นๆ อีกมากมาย)
สืบย้ำบ่อยๆ ว่า ขับรถในป่าต้องระวังยิ่งกว่าขับรถภายในรั้วโรงเรียนอนุบาล เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าได้รับอันตรายจากรถของเรา อย่างเต่าบกบางชนิดมักชอบซ่อนตัวอยู่ในแอ่งน้ำขัง หากไม่ระวังอาจทับตายได้
การเดินทางกับสืบจึงคล้ายๆ กับเต่าคลานดีๆ นี่เอง
นอกจากขับรถแล้ว การตั้งแคมป์ก็มีข้อพึงปฏิบัติมากมายไม่แพ้กัน จนนักศึกษาหลายคนมาบ่นให้โจ๋ยฟังว่า “ไปกับคุณสืบไม่สนุกเลย”
อย่างการก่อกองไฟ ก็ต้องดูให้ดีว่าไม่มีต้นไม้บนผิวดิน เพราะความร้อนเป็นภัยต่อพืชพรรณเล็กๆ ที่อาจมองไม่เห็น เวลาทำอาหารก็ต้องคำนวณให้ละเอียด เพราะการทิ้งเศษอาหารอันตรายกว่าที่คิด บางทีอาหารอาจมีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อน พอสัตว์มากินต่ออาจติดเชื้อและแพร่กระจายในป่า
ถ้าคิดว่าจะเผาหรือฝังกลบบอกเลยว่าทำไม่ได้ เพราะกลิ่นคาวก็ยังอยู่ สัตว์ป่าก็อาจขุดหรือคุ้ยเขี่ยขึ้นมาเมื่อใดก็ไม่รู้
เรื่องยากันยุงก็เหมือนกัน ห้ามเด็ดขาด สืบบอกว่าโลกนี้มีแมลงอีกหลายแสนชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จักหรือไม่เคยศึกษา ความปลอดภัยของแมลงจึงสำคัญมาก เพราะพวกมันมีค่าต่อนักวิจัยและชาวโลกอย่างยิ่ง
ส่วนคนไหนจะทำธุระหนัก เขาจะแนะนำว่า ให้ขุดหลุมลึกๆ เสร็จแล้วอย่าลืมฝังกลบให้เรียบร้อย หาก้อนหินหนักๆ มาทับด้วย เพราะอุจจาระของคนเราคือธนาคารเชื้อโรคดีๆ นั่นเอง
ยิ่งเข้าป่าลึกๆ เสียงพูดจะกลายเป็นเรื่องต้องห้าม สืบบอกว่า เสียงคนเราเป็นคลื่นเสียงที่ต่ำ สัตว์ป่าหลายชนิดสามารถรับฟังได้ จึงต้องใช้สัญญาณมือติดต่อกันเท่านั้น
อ่านถึงตรงนี้ คุณอาจจะรู้สึกว่า สืบ นาคะเสถียร ช่างเป็นผู้ชายที่มีกฎระเบียบหยุมหยิมเต็มไปหมด
บางคนอดแซวไม่ได้ว่า เขารักสัตว์ป่ามากกว่าตัวเองเสียอีก สืบมีประโยคติดปากเสมอเวลาขึ้นเวที “ผมขอพูดในนามสัตว์ป่าทุกตัว” ก็สัตว์ป่าพูดไม่ได้จึงต้องอาศัยปากสืบพูดแทน
แต่ถึงจะดูจุกจิก หากชายคนนี้ไม่จริงจังกับเรื่องที่ดูเล็กน้อย ผืนป่าตะวันตกก็คงไม่อุดมไปด้วยสัตว์ป่าและพืชพรรณธรรมชาติอย่างทุกวันนี้
เหมือนที่เขาชอบย้ำบ่อยๆ ว่า “เราก็เหมือนคนแปลกหน้าที่กำลังขึ้นบ้านคนอื่น ต้องรู้จักมีมารยาท เข้าป่าต้องรู้กฎของป่า” เพราะความรู้จากธรรมชาติ ไม่มีทางลัดที่จะศึกษาได้รวดเร็ว และนี่แหละคือวิถีของนักสังเกตการณ์ธรรมชาติที่แท้จริง
ค้นหาเหตุผลที่ทำให้ สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจจบชีวิตตนเอง เพื่อส่งเสียงให้ทุกคนฟังเขา
กลุ่มเครือข่ายคนรุ่นใหมที่ทำงานขับเคลื่อนการอนุรักษ์คลองในพื้นที่ฝั่งธนบุรี
จะเป็นอย่างไร ถ้าวันหนึ่งคุณได้เข้าป่าไปกับ สืบ นาคะเสถียร
นักอนุรักษ์ผู้เป็นแรงบันดาลให้นักเคลื่อนไหวด้านธรรมชาติรุ่นใหม่ เป็นผู้บุกเบิกค่ายเยาวชนเชียงดาว
บิดาแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติ บุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดอุทยานแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย
นักวิจัยทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรเชียงดาว พร้อมกับพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามวิถีธรรมชาติที่ยั่งยืน
ครูแพทย์ผู้บุกเบิกประสาทศัลยศาสตร์ในเมืองไทย ตลอดจนมีส่วนในการยกเครื่องกระทรวงสาธารณสุข และผลักดันแพทย์ไทยไปสู่ชนบท
โค้ชอ๊อต อดีตหัวหน้าสต๊าฟโค้ชวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ผู้ที่ทำให้ทีมโนเนม กลายเป็นทีมระดับโลกที่มีผู้คนต่างยกนิ้วให้
ศิลปินแห่งชาติ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ผู้พยายามสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างแท้จริง
เจ้าของ a.e.y.space นักสร้างสรรค์เมืองรุ่นใหม่ จนสงขลา ที่เชื่อมร้อยศิลปะ เศรษฐกิจ สังคม และผู้คน เข้าไว้ด้วยกัน
อดีตอาจารย์สถาปัตย์ ผู้ปลูกฝังให้ลูกศิษย์รักต้นไม้ และเชื่อมโยงธรรมชาติกับงานสถาปัตยกรรม
เภสัชกรหญิง เจ้าของรางวัลแมกไซไซที่เดินทางไปทั่วแอฟริกา เพื่อสอนการผลิตยารักษาโรคให้ผู้ขาดแคลน
COPYRIGHT © 2021 WWW.THENORMALHERO.CO. ALL RIGHTS RESERVED.